RAM
: random access memory เป็นหน่วยความจำหลักที่ใช้งานได้ก็ต่อเมื่อมีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงเท่านั้น
ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล
ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ หน่วยความจำจะทำงานร่วมกันกับซีพียู (CPU)อยู่ตลอดเวลา แทบทุกจังหวะการทำงานของซีพียู
(CPU) จะต้องมีการอ่าน/เขียนข้อมูลไปยังหน่วยความจำเสมอ
หรือแม้แต่ในขณะที่เราสั่งย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งก็ต้องใช้หน่วยความเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล
ประเภทของแรม
โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ SRAM, DRAM โดยมีรายระเอียดดังนี้
- Static RAM (SRAM) นิยมนำไปใช้เป็นหน่วยแคช (Cache) ภายในตัวซีพียู เพราะมีความเร็วในการทำงานสูงกว่า DRAM มาก แต่ไม่สามารถทำให้มีขนาดความจุสูงๆได้ เนื่องจากกินกระแสไฟมากจนทำให้เกิดความร้อนสูง
- Dynamic RAM (DRAM) นิยม นำไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำหลักของระบบในรูปแบบของชิปไอซี (Integrated Circuit) บนแผงโมดุลของหน่วยความจำ RAM หลากหลายชนิด เช่น SDRAM,DDR SDRAM,DDR-II และ RDRAM เป็นต้น โดยออกแบบให้มีขนาดความจุสูงๆได้ กินไฟน้อย และไม่เกิดความร้อนสูง
ชนิดของแรมที่ใช้กันในปัจจุบัน
1.SDRAM (Synchronous Dynamic Random - Access
Memory)
SDRAM ใช้ความเร็วแบบ Synchronous
จะขึ้นอยู่กับความเร็วของสัญญาณนาฬิกาของระบบทั้งหมด
การถ่ายเทข้อมูลจะเกิดขึ้น 1 ครั้ง
ต่อหนึ่งลูกคลื่นสัญญาณนาฬิกา โดยทำงานที่ความเร็วระดับเดียวกับ Bus มีความเร็วตั้งแต่ 66MHz ถึง 133MHz
ถึงแม้ว่า SDRAM จะทำงานในระดับความเร็วระดับเดียวกับ Bus แต่ SDRAM
ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ใช้รู้สึกถึงความเร็ว
เนื่องจากจุดด้อยของหน่วยความจำประเภทนี้อยู่ที่การทำงานตามความเร็วของค่า แคช จึงทำให้หน่วยความจำ
SDRAM ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ต่อมาจึงได้มีการพัฒนา
RAM แบบ DDR ขึ้นมาแทน
2. RDRAM (Rambus DRAM)
RDRAM (Rambus DRAM) มีหลักการทำงานคล้ายกับ
DDR RAM แต่การทำงานจะทำงานเป็นคู่ทำให้จำนวน bit ที่รับส่งในแต่ละรอบสูงขึ้นเป็น 128 bit
ข้อด้อยของ RAM แบบนี้ ก็คือ เรื่องของราคาที่ค่อนข้างสูง
รวมทั้งค่อนข้างที่จะสิ้นเปลืองแผ่นความร้อนมากทำให้ RAM ประเภทนี้ไม่ได้รับความนิยม
และถูกแทนที่ด้วย DDR RAM แบบ Duel Channel ในที่สุด
3. DDR RAM (Double Data Rate Random-Access
Memory)
DDR RAM เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อมาจาก
SDRAM ในช่วงแรกบริษัทอินเทลไม่พัฒนา
ชิพเซต และไม่ให้การสนับสนุน ทำให้ผู้ผลิตรายอื่น เช่น AMD และบริษัทผู้ผลิตชิพเซตและสร้างเมนบอร์ดชั้นนำของโลกจากไต้หวัน ซึ่งได้แก่ VIA, SiS, ATi ได้รวมกันและพัฒนาเทคโนโลยีนี้จนได้รับความนิยมสูง
ชิพเซต และไม่ให้การสนับสนุน ทำให้ผู้ผลิตรายอื่น เช่น AMD และบริษัทผู้ผลิตชิพเซตและสร้างเมนบอร์ดชั้นนำของโลกจากไต้หวัน ซึ่งได้แก่ VIA, SiS, ATi ได้รวมกันและพัฒนาเทคโนโลยีนี้จนได้รับความนิยมสูง
แรมประเภทนี้จะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสัญญาณขาขึ้นและขาลงของสัญญาณนาฬิกาแทนแบบเดิมที่ส่งข้อมูลผ่านสัญญาณขาขึ้นเท่านั้น
เป็นผลทำให้อัตราส่งถ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ซึ่งเป็น ที่มาของชื่อ DDR (Double Data Rate)
4. DDR2
DDR2 พัฒนาขึ้นมาจาก DDR โดยข้อมูลได้ส่งจากหน่วยความจำได้
4 ทาง เป็นการส่งข้อมูลแบบ 16 bit ซึ่งจะใช้ในการเพิ่มขึ้นของอัตราข้อมูล
ดังนั้นในการส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นมากกว่า DDR ถึงเท่าตัว จุดเด่นของแรมตัวนี้ คือ
สามารถพัฒนาให้มีความเร็วในการทำงานและมีความจุได้สูงกว่า DDR สามารถระบายความร้อนได้ดีมาก
รวมทั้งลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างตัวชิปได้ดี มีขนาดเล็กลง
ใช้พลังงานน้อยและยังลดความร้อนลงได้อีกด้วย
แรมตัวนี้จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน
5. DDR3
เป็นแรมที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการ ความเร็วในการรับส่งข้อมูล
ที่ค่อนข้างสูงในการประมวลผลในปัจจุบัน รวมทั้งความต้องการในเรื่องของการประหยัดพลังงานปัจจุบันทำความเร็วได้มากสุดถึง
1600MHz และกำลังจะแทนที่
DDR2 เนื่องมาจากความเร็วที่สูงกว่าและประหยัดไฟมากกว่า
แต่ราคาในปัจจุบันยังแพงกว่า DDR2
ลักษณะภายนอกของ DDR3 มีลักษณะเหมือนกับ DDR2 ค่อนข้างมาก จำนวนของขาก็เท่ากัน แต่ไม่สามารถใช้แทนกันได้ เนื่องจากการใช้ไฟเลี้ยงซึ่งน้อยกว่า
ความจุในการรับข้อมูลมากกว่า ทำให้แรมตัวนี้มีความเร็วและรองรับความจุมากกว่า DDR2และยังมีความสามารถในการรีเซตตัวเองของชิปเมโมรีทุกครั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดการทำงานลง
ไม่ว่าจะจากการปิดเครื่องหรือเครื่องเกิดค้าง ข้อดีคือทำให้ไม่มีข้อมูลหลงเหลืออยู่ภายในแรม
ทำให้ลดอัตราความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับตัวชิปได้ดียิ่งขึ้น
เมื่อเริ่มการทำงานใหม่อีกครั้งซึ่งจะสามารถทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ช่วยลดระยะเวลาชดเชยความล่าช้าได้
ลิ้งที่นำมาอ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น