วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Mainboard:เมนบอร์ด

MAINBOARD



เมนบอร์ด (Mainboard) คือ อุปกรณ์ส่วนกลางที่สำคัญรองมาจากซีพียูเพราะทำหน้าที่เชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียกว่าแทบจะทั้งหมดตั้งแต่ ซีพียู ฮาร์ดดิส การ์ดจอ พาเวอร์ซับพลาย ฯลฯ  บนเมนบอร์ดเองมีช่องเสียบอุปกรณ์รวมทั้งชิปเซตที่ทำหน้าที่รับและส่งข้อมูล เมนบอร์ดที่นิยมใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นมาตรฐานการออกแบบ ATX ปรับปรุงจากระบบเก่าที่เป็นแบบ Body AT โดยแบบใหม่จะมีการปรับปรุงบริเวณ ซีพียู(CPU)โดยจะย้ายไปไกลพัดลมของแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply) ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น


นอกจากเมนบอร์ดมาตรฐาน ATX (Advance Technology Extension) ปัจจุบันยังมีเมนบอร์ดมาตรฐาน Mini-ITX เป็นเมนบอร์ดขนาดเล็กสำหรับคอมพิวเตอร์ทีมีขนาดเล็กเพื่อความบันเทิงหรือ HTPC และตัวเคสเองก็ออกแบบมาอย่างเหมาะสมเพื่อวาง LCD TV ตัวเมนบอร์ดจึงมีขนาดเล็กตามไปด้วย เมนบอร์ดลักษณะนี้จะรวมทุกอย่างไว้บนเมนบอร์ดและมีเพียง 1 สล็อตเท่านั้น เพื่อในการประหยัดพื้นที่ใช้สอย






ส่วนประกอบของเมนบอร์ดจะประกอบไปด้วย



  1. ซ็อกเก็ตซีพียู (CPU Socket) เป็นตำแหน่งสำหรับติดตั้งซีพียู รูปแบบซ็อกเก็ตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่น การเลือกซื้อเมนบอร์ดมาใช้งานนั้นจึงต้องตรวจสอบว่าเมนบอร์ดที่เราซื้อมาใช้นั้นจึงควรเลือกซีพียูและเมนบอร์ดที่มันซ็อกเก็ตซีพียูให้ตรงกันที่นิยมกันจะมี 4 แบบ คือ LGA 775 สำหรับ Core 2  Socket AM2+/AM3 สำหรับ AMD  LGA 1366 สำหรับ Core i7 และ LGA 1156 สำหรับ Core i3และ i5
  2. พอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อ จะปรากฏอยู่ด้านหลังของตัว(เคส)คอมพิวเตอร์ ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก อย่างเช่น คีบอร์ด เมาส์ ลำโพง เป็นต้น แต่ละพอร์ตจะมีลักษณะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอุปกรณีที่นำมาต่อ
  3. สล็อตของการ์ดจอ (Graphic Card Slot) ใช้สำหรับเสียบการ์ดจอเพื่อแสดงผลออกมอนิเตอร์
  4. สล็อต PCI (PCI Slot) เป็นสล็อตขนาดเล็กใช้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับสล็อตการ์ดจอ สล๊อต PCI  ทำหน้่าที่สำหรับติดตั้งการ์ดที่เป็นอุปกรณ์เสริมต่างๆใช้สำหรับเสียบการ์ดเสียง การ์ดเลน โมเด็มต่างๆ
  5. หัวต่อไดรว์ต่างๆ หรือตัวอ่านแผ่นดิสก์
  6. ชิปเซต (Chipset) หรือภาษานักคอมเรียกกันว่าชิปรอมไบออส BIOS ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานในส่วนต่างๆของเมนบอร์ด ทั้งส่วนของซีพียู ฮาร์ดดิส การ์ดจอ แรมและอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ
  7. ตัวต่อแบบ SATA ใช้เชื่อมต่อฮาร์ดดิสแบบSATA ประหยัดพลังงานแล้วพื้นที่ใช้สอย และยังระบายความร้อนได้ดี
  8. ตัวต่อแบบ IDE ใช้ต่อทั้งฮาร์ดดิสแบบเก่า ซีดีและดีวีดี
  9. ตัวเชื่อมต่อแหล่งจ่ายไฟ  จะมีรูปแบบแหล่งจ่ายไฟอยู่ทั้งหมด 2 แบบ คือ หัวแบบ ATX ซึ่งเป็นหัวต่อหลักที่เมนบอร์ดทุกรุ่นนั้นต้องมี เมนบอร์ดทุกรุ่นในปัจจุบันจำเป็นต้องใช้หัวต่อชนิดนี้เพิ่มขึ้นมาจากหัวต่อเดิม และแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply) ในปัจจุบันก็ทำหัวต่อชนิดนี้ไว้ให้อยู่แล้วเป็นแหล่งนำเข้าไฟไว้เลี้ยงทุกส่วนของคอมพิวเตอร์
  10. ซ็อกเก็ตแรม ซึ่งซ็อกเก็ตแต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันออกไปสังเกตได้จากรอยบาก ซึ่งเมนบอร์ดแต่ละตัวจะรองรับแรมที่ไม่เหมือนกันต้องสังเกตว่าเมนบอร์ดที่ซื้อนั้นใช่ซ็อกเก็ตแรมแบบไหน ปัจจุบันก็มีตั้งแต่รุ่นเก่า คือ SDRAM ไปจนถึง DDR , DDR2 และ DDR3
  11. ตัวคุมต่างๆ อย่างเช่น ปุ่มpower ปุ่มrestart ไฟบอกสถานะฮาร์ดดิส
  12. ตัวต่อUSB ใช้เฉพาะต่ออุปกรณ์ภายในเคสเท่านั้น




ลิ้งอ้างอิงสามารถอ่านเพิ่มเติมได้
http://itsentre.blogspot.com/2013/03/mainboard.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น