Mouse เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล(In Put)อย่างหนึ่งของคอมพิวเตอร์
โดยทั่วไปจะเป็นตัวที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ
เหมาะสำหรับใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ใช้กราฟิก เมื่อต้องเลือกไอคอน
หรือเลื่อนวัตถุต่างๆ บนจอ แบ่งเมาส์ได้ 3 แบบ คือ
1.แบบทางกล (Mechanical)
2.แบบใช้แสง (Optical Mouse)
3.แบบไร้สาย (Wireless
Mouse)
1. แบบทางกล เป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้ง ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อเลื่อน Mouse ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น ลูกกลิ้งจะทำให้กลไกซึ่งทำหน้าที่ปรับแกนหมุนในแกน X และแกน Y แล้วส่งผลไปเลื่อนตำแหน่งตัวชี้บนจอภาพ Mouse แบบนี้มีโครงสร้างที่ออกแบบได้ง่าย มีรูปร่างพอเหมาะมือพอดี ส่วนลูกกลิ้งจะต้องออกแบบให้กลิ้งได้ง่ายและไม่ลื่นไถลจนเกินไปจึงหุ้มด้วยยาง สามารถควบคุมความเร็วได้อย่างต่อเนื่องสัมพันธ์ระหว่างทางเดินของเมาส์ที่แสดงบนจอภาพ
Ball
Mouse
มีชนิดที่เป็น Ball อยู่ในแนวตั้งและแนวนอน Mouse แบบ Ball การใช้งานต้องเลื่อน Mouse ยังแกนต่างๆบนหน้าจอเพื่อเลือก หรือยกเลิกโปรแกรมที่ทำงานอยู่ ต่อมาได้พัฒนา Mouse ให้มี wheel เพื่อให้สะดวกในการใช้งานกับ Windows ตั้งแต่เวอร์ชัน 95 เป็นต้นมา ซึ่งช่วยในการเลื่อนหน้าต่าง Window ได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องเลื่อน Mouse เพียงแต่ใช้นิ้วขยับไปที่ wheel ขึ้นลงเท่านั้น
มีชนิดที่เป็น Ball อยู่ในแนวตั้งและแนวนอน Mouse แบบ Ball การใช้งานต้องเลื่อน Mouse ยังแกนต่างๆบนหน้าจอเพื่อเลือก หรือยกเลิกโปรแกรมที่ทำงานอยู่ ต่อมาได้พัฒนา Mouse ให้มี wheel เพื่อให้สะดวกในการใช้งานกับ Windows ตั้งแต่เวอร์ชัน 95 เป็นต้นมา ซึ่งช่วยในการเลื่อนหน้าต่าง Window ได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องเลื่อน Mouse เพียงแต่ใช้นิ้วขยับไปที่ wheel ขึ้นลงเท่านั้น
Mouse สำหรับ Macintosh
เป็น Mouse ที่ใช้เฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ Macintosh ซึ่งเป็น Mouse ที่ไม่มี wheel และปุ่มคลิกมีเพียงปุ่มเดียวแต่สามารถใช้งาน ได้ครอบคลุมทุกหน้าที่การทำงาน ซึ่งทางบริษัท Apple ออกแบบมาเพื่อใช้กับเครื่อง Macintosh เท่านั้น
2. แบบใช้แสง อาศัยหลักการหักเหของแสงจาก Mouse ลงไปบนแผ่นรอง Mouse (mouse
pad)และตกกระทบกลับมายัง wheel ของเมาส์อีกรอบหนึ่ง
จากนั้นจึงประมวลผลออกมายังจอภาพ ปัจจุบันบริษัทต่างๆผู้ผลิต
Mouse ชนิดนี้ได้เพิ่มให้มีความสวยงามต่างๆกันไป
เช่น ใส่แสงให้กับ wheel หรือไม่ก็ออกแบบให้มีแสงสว่างทั้งตัว
Mouse แต่หน้าที่การทำงานก็ไม่เปลี่ยนแปลงไปจาก Ball
Mouse หลักการเดียวกัน
3.แบบไร้สาย เป็น
Mouse ที่มีการทำงานเหมือน Mouse ทั่วไปเพียงแต่ไม่มีการใช้สายไฟต่อออกมาจากตัว
Mouse ซึ่ง Mouse ชนิดนี้จะมีตัวรับและตัวส่งสัญญาณซึ่งทางด้านตัวรับสัญญาณอาจจะเป็นหัวต่อ
แบบ PS/2 หรือ แบบ USB ที่เรียกว่า Thumb
USB receiver ซึ่งใช้ความถี่วิทยุอยู่ที่ 27MHz
กลไกการทำงานของเมาส์มี 3 ประเภท คือ Mechanical,
Opto-Mechanical และ Optical
Mechanical
เป็นกลไกการทำงานที่อาศัยลูกบอลยาง กลิ้งไปกลิ้งมาเมื่อเราเคลื่อนย้ายเมาส์ ลูกบอลยางนี้จะกดแนบอยู่กับลูกกลิ้ง โดยแกนของลูกกลิ้ง จะต่อเข้ากับจานแปลรหัส (Encoder) ซึ่งมีหน้าสัมผัสเป็นจุด ๆ เมื่อจุดสัมผัสเลื่อนมาตรงแกนสัมผัส ก็จะสร้างสัญญาณส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ซึ่งโปรแกรมควบคุมเมาส์ จะทำหน้าที่ แปลเป็นคำสั่งเคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์ บนจอภาพที่เราเลื่อนมส์ไป เมาส์ที่ใช้กลไกการทำงานแบบนี้จะมีราคาค่อนข้างถูกกว่าแบบอื่นมีตัวอย่างข้างต้นที่ได้กล่าวมาแล้ว
Opto-Mechanical
กลไกการทำงานคล้ายแบบ Mechanical แต่ว่าตัวรับการเคลื่อนที่ของจานแปลรหัส (Encoder) จะมีไฟ LED อยู่อีกด้านหนึ่งของจานไว้คอยกำเนิดแสง และอีกด้านหนึ่ง จะมี Opto-Transistor (ทรานซิสเตอร์ไวแสง) ไว้คอยตรวจจับแสง(ใช้หลักการ การหักเหของแสงที่ตกกระทบไปยังวัตถุ)แทนการใช้การสัมผัส
Optical
เป็นกลไกการทำงานที่อาศัยแผ่นรองชนิดพิเศษ ซึ่งมีผิวมันสะท้อนแสงและมีตารางเส้นตามแกน X , Y โดยแกนหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน อีกแกนเป็นสีดำ ตัดกันไว้คอยตรวจจับการเคลื่อนที่ ซึ่งบนเมาส์จะมีไฟ LED 2 ดวงให้กำเนิดแสงออกมา 2 สี คือ สีดำและสีน้ำเงิน ไฟ LED ที่กำเนิดแสงสีดำจะดูดกลืนแสงสีน้ำเงิน ส่วนไฟ LED ที่กำเนิดแสงสีน้ำเงินจะดูดกลืนแสงสีดำ ซึ่งตัวตรวจจับแสงเป็นทรานซิสเตอร์ไวแสงสีที่ตรวจจับได้จะบอกทิศทาง ช่วงของแสงที่หายไปจะบอกถึงระยะทางการเคลื่อนที่
Mechanical
เป็นกลไกการทำงานที่อาศัยลูกบอลยาง กลิ้งไปกลิ้งมาเมื่อเราเคลื่อนย้ายเมาส์ ลูกบอลยางนี้จะกดแนบอยู่กับลูกกลิ้ง โดยแกนของลูกกลิ้ง จะต่อเข้ากับจานแปลรหัส (Encoder) ซึ่งมีหน้าสัมผัสเป็นจุด ๆ เมื่อจุดสัมผัสเลื่อนมาตรงแกนสัมผัส ก็จะสร้างสัญญาณส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ซึ่งโปรแกรมควบคุมเมาส์ จะทำหน้าที่ แปลเป็นคำสั่งเคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์ บนจอภาพที่เราเลื่อนมส์ไป เมาส์ที่ใช้กลไกการทำงานแบบนี้จะมีราคาค่อนข้างถูกกว่าแบบอื่นมีตัวอย่างข้างต้นที่ได้กล่าวมาแล้ว
Opto-Mechanical
กลไกการทำงานคล้ายแบบ Mechanical แต่ว่าตัวรับการเคลื่อนที่ของจานแปลรหัส (Encoder) จะมีไฟ LED อยู่อีกด้านหนึ่งของจานไว้คอยกำเนิดแสง และอีกด้านหนึ่ง จะมี Opto-Transistor (ทรานซิสเตอร์ไวแสง) ไว้คอยตรวจจับแสง(ใช้หลักการ การหักเหของแสงที่ตกกระทบไปยังวัตถุ)แทนการใช้การสัมผัส
Optical
เป็นกลไกการทำงานที่อาศัยแผ่นรองชนิดพิเศษ ซึ่งมีผิวมันสะท้อนแสงและมีตารางเส้นตามแกน X , Y โดยแกนหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน อีกแกนเป็นสีดำ ตัดกันไว้คอยตรวจจับการเคลื่อนที่ ซึ่งบนเมาส์จะมีไฟ LED 2 ดวงให้กำเนิดแสงออกมา 2 สี คือ สีดำและสีน้ำเงิน ไฟ LED ที่กำเนิดแสงสีดำจะดูดกลืนแสงสีน้ำเงิน ส่วนไฟ LED ที่กำเนิดแสงสีน้ำเงินจะดูดกลืนแสงสีดำ ซึ่งตัวตรวจจับแสงเป็นทรานซิสเตอร์ไวแสงสีที่ตรวจจับได้จะบอกทิศทาง ช่วงของแสงที่หายไปจะบอกถึงระยะทางการเคลื่อนที่
ลิ้งไว้สำหรับอ่านเพิ่มเติม
http://www.com5dow.com/basic-computer/6-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%8C-mouse-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น