จอภาพ Monitor เป็นอุปกรณ์ใช้แสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็นได้ทันที
มีรูปร่างคล้ายจอภาพของโทรทัศน์ บนจอภาพประกอบด้วยจุดจำนวนมาก
เรียกจุดเหล่านั้นว่า พิกเซล (Pixel) ถ้ามีพิกเซลจำนวนมากก็จะทำให้ผู้ใช้มองเห็นภาพบนจอได้ชัดเจนมากขึ้น
มีชื่อเรียกมากมาย เช่น Monitor, CRT (Cathode Ray Tube) แบ่งได้หลายรูปแบบ
เช่น แบ่งเป็นจอแบบตัวอักษร กับจอแบบกราฟิก
โดยจอภาพแบบตัวอักษรจะมีหน่วยวัดเป็นจำนวนตัวอักษรต่อบรรทัด เช่น 80 ตัวอักษร 25 บรรทัด สำหรับจอภาพแบบกราฟิก
จะมีหน่วยวัดเป็นจุดหรือพิกเซล (Pixel) ภายนอกของจอภาพก็คล้ายๆกับจอโทรทัศน์
สิ่งที่แสดงออกทางจอภาพมีทั้งข้อความ ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
โดยรับข้อมูลจากการ์ดจอ ซึ่งทำหน้าที่นำข้อมูลจากหน่วยประมวลผล
มาแปลงเป็นสัญญาณภาพ แล้วส่งให้จอภาพแสดงผล
การแสดงผลบนจอภาพเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ วิวัฒนาการของการแสดงผลได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้น
มาตรฐานการแสดงผลที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์มีพื้นฐานมาจากการพัฒนาของบริษัทไอบีเอ็ม
ช่วงยุคต้นการแสดงผลส่วนใหญ่ยังเป็นแบบตัวอักษรโดยมีการทำงานแยกจากการแสดงกราฟิก
แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์จำนวนมากสามารถแสดงผลในภาวะกราฟิก เช่น ระบบปฏิบัติงานวินโดวส์
ต้องใช้การแสดงผลในรูปกราฟิกทั้งสิ้น
ปัจจุบันมีการพัฒนาจอภาพออกมาหลากหลายลักษณะ เน้นจำนวนสี
ความละเอียด ความคมชัด ประหยัดพลังงาน สามารถแบ่งประเภทที่ใช้ในปัจจุบันได้เป็นกลุ่ม
ดังนี้
จอภาพสีเดียว (Monochrome Monitor)
จอภาพที่รับสัญญาณจากการ์ดควบคุม ในลักษณะของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1 โดยการกวาดลำอิเล็กตรอนไปตกหน้าจอ แล้วเกิดเป็นจุดเรืองแสง จะให้สัญญาณว่าจุดไหนสว่าง จุดไหนดับ จอภาพสีเดียวปัจจุบันนี้ไม่นำมาใช้งานกันแล้ว
จอภาพที่รับสัญญาณจากการ์ดควบคุม ในลักษณะของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1 โดยการกวาดลำอิเล็กตรอนไปตกหน้าจอ แล้วเกิดเป็นจุดเรืองแสง จะให้สัญญาณว่าจุดไหนสว่าง จุดไหนดับ จอภาพสีเดียวปัจจุบันนี้ไม่นำมาใช้งานกันแล้ว
จอภาพหลายสี (Color Monitor)
จอภาพที่รับสัญญาณดิจิตอล 4 สัญญาณ คือ สัญญาณของสีแดง, เขียว, น้ำเงิน และสัญญาณความสว่าง ทำให้สามารถแสดงสีได้ 16 สี ถึง 16 ล้านสี
จอภาพที่รับสัญญาณดิจิตอล 4 สัญญาณ คือ สัญญาณของสีแดง, เขียว, น้ำเงิน และสัญญาณความสว่าง ทำให้สามารถแสดงสีได้ 16 สี ถึง 16 ล้านสี
จอภาพแบบแบน (LCD; Liquid Crystal Display)
จอภาพผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาหรือคอมพิวเตอร์notebookเป็นจุดเด่นของจอภาพแบน ก็คือประหยัดพลังงาน ส่วนใหญ่ แบ่งเป็น
จอภาพผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาหรือคอมพิวเตอร์notebookเป็นจุดเด่นของจอภาพแบน ก็คือประหยัดพลังงาน ส่วนใหญ่ แบ่งเป็น
1.Active matrix จอภาพสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม
เนื่องจากให้ความสว่าง และสีสันสดใส เรียกว่า TFT – Thin Film Transistor และคุณสมบัติดังกล่าวจึงทำให้ราคาของจอประเภทนี้สูง
2.Passive matrix color สีของจอภาพค่อนข้างแห้ง
มีความสว่างน้อย สีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้
นอกจากมองจากมุมตรง เรียกว่า DSTN – Double Super Twisted Nematic
การเลือกซื้อจอภาพ
การเลือกซื้อจอภาพจะต้องพิจารณาความสัมพันธ์ของจอภาพกับตัวเชื่อมต่อซึ่งเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดแผงวงจรนี้จะเป็นตัวแสดงผลตามมาตรฐานที่ต้องการมีการแสดงผลหลายแบบการที่หัวต่อไม่เหมือนกันจึงทำให้ใช้จอภาพร่วมกันกับเมนบอร์ดที่เรามีอยู่ไม่ได้
นอกจากที่กล่าวมาแล้วคุณภาพของจอภาพก็จะต้องพิจารณาจอภาพมีรูปแบบไม่เหมือนกัน
สัญญาณของแผงวงจรแบบVGAเป็นแบบแอนาล็อก
สัญญาณของแผงวงจรแบบ MDA, CGA, HGA, EGA เป็นแบบดิจิทัล เราสามารถตรวจสอบได้ด้วยตาเปล่า
คือ การแสดงผลที่ออกมาจะต้องเป็นจุดเล็กละเอียดคมชัด
ไม่เป็นภาพพร่าหรือเสมือนปรับโฟกัสไม่ชัดเจน
ภาพที่ได้จะต้องมีลักษณะคงที่ สังเกตได้จากขนาดตัวหนังสือแถวบน
กับแถวกลางหรือแถวล่างต้องมีขนาดเท่ากันและคมชัดเหมือนกัน ภาพที่ปรากฎขึ้นจะต้องไม่กระพริบถึงแม้จะปรับความเข้มของแสงเต็มที่
ภาพไม่สั่นไหวติงหรือพลิ้วไปมา การแสดงของสีต้องไม่เพี้ยนจากสีที่ควรจะเป็น
พิจารณารายละเอียดอื่นของจอภาพ
เช่น ขนาดของจอภาพวัดตามแนวเส้นทะแยงมุมของจอ หน่วยที่ใช้วัดขนาดหรือที่เรียกกันเป็นนิ้ว
ทั่วไปจะมีขนาด 14 นิ้ว จอภาพที่แสดงผลงานกราฟิกบางแบบอาจต้องใช้ขนาดใหญ่ถึง 20
นิ้ว ความละเอียดของจุดซึ่งสามารถสังเกตได้จากสัญญาณแถบความถี่ของจอภาพ การใช้งานของบุคคลทั่วไป
เช่น ไว้ดูหนัง เล่นเกม เขียนงานกราฟิก
นอกเหนือจากนี้ที่ไม่พูดถึงนี้ต้องไปศึกษารายละเอียดปลีกย่อยแล้วเลือกเองอีกครั้ง
ลิงค์อ้างอิง
ไว้สำหรับอ่านเพิ่มเติม
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/monitor.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น