วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์

                เมื่อทำความรู้จักส่วนต่างๆของคอมพิวเตอร์กันมาพอสมควรแล้วมาถึงตอนนี้มาเรียนรู้วิธีการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราให้มีอายุการใช้งานยาวนานยิ่งขึ้น
                พูดถึงเรื่องการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์มีทั้งการทำความสะอาดภายนอกและการดูแลรักษาภายในตัวเครื่องรวมถึงซอฟแวร์โปรแกรมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ปัจจุบันมีการพัฒนาโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์หรือที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีว่า ไวรัสคอมพิวเตอร์โปรแกรเหล่านี้จะรบกวนการทำงานของคอมพิวเตอร์ของคุณ ยังมีอีกอย่างหนึ่งซึ่งจะทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์ช้าลงนั่นก็คือการใช้งานโปรแกรมต่างๆเป็นเวลานาน การดูแลรักษา บำรุงคอมพิวเตอร์ให้มีระยะเวลาการใช้งานนานมีดังต่อไปนี้



การทำความสะอาดภายนอกตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
วิธีการทำความสะอาดคอมพิวเตอร์ต้องเริ่มจากการถอดปลั๊กไฟก่อนเพราะจะเป็นอันตรายต่อตัวเราเอง(ไฟฟ้าจะดูดท่านได้นะ) ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ 5 นาที ก่อนลงมือทำความสะอาด จากนั้นทำความสะอาดโดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเปล่าหรือน้ำยาทำความสะอาดคอมพิวเตอร์ เช็ดส่วนต่างๆภายนอกตัวเครื่อง สายไฟคอมพิวเตอร์
1.เป่าฝุ่นหรือกำจัดฝุ่นที่อยู่บนตัวเครื่อง ควรทำความสะอาดภายในเครื่องทุก 6 เดือน หรือทุกครั้งที่ถอดฝาครอบ ใช้แปลงที่มีขนอ่อนๆ อาจจะเป็นแปรงด้ามไม้ไผ่หาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้าง เพราะหน้าจอหรือตัวเครื่องบางรุ่น หากใช้แปรงที่มีขนหนาอาจทำให้หน้าจอคอมพิวเตอร์บางรุ่นเป็นรอยได้ วงจรภายในให้ใช้ลมเป่าและใช้แปรงขนอ่อนๆ ปัดฝุ่นออก


2.ตรวจเช็คความเรียบร้อยภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ : อาจยุ่งยากสำหรับผู้ที่ไม่ถนัดในด้านการช่าง เพราะต้องทำการเปิดฝาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตรวจเช็คพัดลมระบายความร้อน สายไฟที่อยู่ภายในและฝุ่นที่เกาะอยู่ที่เมนบอร์ด ว่ายังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีอยู่หรือเปล่า ความร้อนก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คอมพิวเตอร์เสียได้เพราะอุปกรณ์สึกหรอได้รวดเร็ว


3.จัดวางคอมพิวเตอร์ให้ถูกหลัก : สำหรับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ การจัดวางหน้าจอคอมพิวเตอร์ควรวางให้ห่างจากกำแพง หรือมีช่องว่างด้านหลังจอประมาณ 1 ไม้บรรทัด เพราะความร้อนที่กระจายออกมาจะได้มีการระบายที่โล่งและไม่เกิดอุณหภูมิสูง รวมถึงตัวเคสคอมพิวเตอร์ก็ควรตั้งในที่มีช่องระบายความร้อนให้ลมสามารถพัดเข้า-ออกได้  ผู้ที่ใช้โน้ตบุ๊คก็ทำนองเดียวกัน ควรยกระดับด้านล่างของโน้ตบุ๊คให้มีช่องว่างระบายอากาศด้านล่างด้วย เนื่องจากโน้ตบุ้คจะมีความร้อนที่สูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป แนะนำให้หาพัดลมระบายความร้อน หรือพัดลมตั้งพื้นเป่า
4.จัดการไฟล์ที่ไม่ได้ใช้แล้วหรือไม่สำคัญ : ไฟล์ต่างๆที่เราดาวน์โหลดมาหรือเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หากไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือไม่สำคัญก็ควรลบทิ้งจากเครื่องคอมพิวเตอร์บ้าง เพราะจะทำให้ไม่เปลืองความจำเครื่อง ได้พร้อมและมีที่ว่างรับข้อมูลใหม่
5.จัดระเบียบโฟลเดอร์ต่างๆ : ในส่วนนี้จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและช่วยในเรื่องการทำงานของเราได้เลยครับเพราะหากเราจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ต่างๆให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เวลาที่หาไฟล์ต่างๆก็จะสะดวกมากขึ้น เครื่องก็จะทำงานไม่หนักครับ


6.กำจัดและสแกนไวรัสในคอมพิวเตอร์ : เมื่อเราใช้คอมพิวเตอร์ย่อมต้องมีไวรัสเป็นธรรมดา ไวรัสไม่จำเป็นต้องมาจากอินเตอร์เน็ตเสมอไป มาจากแฮนดี้ไดร์ก็ได้ เพราะฉะนั้นคอมพิวเตอร์ของเราต้องมีโปรแกรมแสกนไวรัสไว้ติดเครื่องตลอด ไว้ในการตรวจจับสิ่งที่เป็นอันตรายต่อคอมของเราโปรแกรมสแกนไวรัสปัจจุบันมีหลายหลายให้เลือกใช้ อย่างเช่น NOD32, AVG Antivirus, Avast, Panda Cloud เป็นต้น
7.ลบโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้งานทิ้ง : หากเรารู้ว่าโปรแกรมไหนที่เราไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือเกมส์ต่างๆที่เราลงไว้ในคอมพิวเตอร์ไม่ได้เล่นเราควรจะลบออกครับเช่นเดียวกับโฟลเดอร์และไฟล์ เพราะจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไม่ทำงานหนักที่ต้องเตรียมโปรแกรมต่างๆคอยเสิร์ฟเวลาที่เราจะใช้งาน
8.จัดพื้นที่ในส่วนที่ว่างในฮาร์ดดิส : เมื่อเราลงโปรแกรม ลบโปรแกรม จัดเก็บข้อมูล ลบข้อมูล ในฮาร์ดดิสจะมีที่ว่างเหลืออยู่บ้างนิดหน่อยระหว่างโปรแกรมในฮาร์ดดิสดังนั้นจึงต้องจัดระเบียบของฮาร์ดดิสเสียใหม่ แนะนำโปรแกรม disk defragmenter ซึ่งโปรแกรมนี้จะอยู่ในวินโดว์ของเครื่องอยู่แล้ว

         พฤติกรรมที่ไม่ควรทำขณะใช้งานคอมพิวเตอร์
1. ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
2. ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ
3. ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์
4. ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ สาเหตุที่ทำให้เครื่องพีซีเกิดความเสียหาย
5. ไม่ควรสูบบุหรี่ใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์

6. อย่านำแม่เหล็กมาวางใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างเช่น ลำโพง แม่เหล็กติดกระดาน เป็นต้น แม่เหล็กสามารถทำให้ข้อมูลในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก็สูญหายได้อย่างถาวร 

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Mouse

          Mouse เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล(In Put)อย่างหนึ่งของคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะเป็นตัวที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ เหมาะสำหรับใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ใช้กราฟิก เมื่อต้องเลือกไอคอน หรือเลื่อนวัตถุต่างๆ บนจอ แบ่งเมาส์ได้ 3 แบบ คือ
1.แบบทางกล (Mechanical)
2.แบบใช้แสง (Optical Mouse)
3.แบบไร้สาย (Wireless Mouse)

1. แบบทางกล      เป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้ง ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อเลื่อน Mouse ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น ลูกกลิ้งจะทำให้กลไกซึ่งทำหน้าที่ปรับแกนหมุนในแกน X และแกน Y แล้วส่งผลไปเลื่อนตำแหน่งตัวชี้บนจอภาพ Mouse แบบนี้มีโครงสร้างที่ออกแบบได้ง่าย มีรูปร่างพอเหมาะมือพอดี ส่วนลูกกลิ้งจะต้องออกแบบให้กลิ้งได้ง่ายและไม่ลื่นไถลจนเกินไปจึงหุ้มด้วยยาง สามารถควบคุมความเร็วได้อย่างต่อเนื่องสัมพันธ์ระหว่างทางเดินของเมาส์ที่แสดงบนจอภาพ




 Ball Mouse
          มีชนิดที่เป็น Ball อยู่ในแนวตั้งและแนวนอน Mouse แบบ Ball การใช้งานต้องเลื่อน Mouse ยังแกนต่างๆบนหน้าจอเพื่อเลือก หรือยกเลิกโปรแกรมที่ทำงานอยู่ ต่อมาได้พัฒนา Mouse ให้มี wheel เพื่อให้สะดวกในการใช้งานกับ Windows ตั้งแต่เวอร์ชัน 95 เป็นต้นมา ซึ่งช่วยในการเลื่อนหน้าต่าง Window ได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องเลื่อน Mouse เพียงแต่ใช้นิ้วขยับไปที่ wheel ขึ้นลงเท่านั้น




 Mouse สำหรับ Macintosh
          เป็น Mouse ที่ใช้เฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ Macintosh ซึ่งเป็น Mouse ที่ไม่มี wheel และปุ่มคลิกมีเพียงปุ่มเดียวแต่สามารถใช้งาน ได้ครอบคลุมทุกหน้าที่การทำงาน ซึ่งทางบริษัท Apple ออกแบบมาเพื่อใช้กับเครื่อง Macintosh เท่านั้น 




 2. แบบใช้แสง      อาศัยหลักการหักเหของแสงจาก Mouse ลงไปบนแผ่นรอง Mouse (mouse pad)และตกกระทบกลับมายัง wheel ของเมาส์อีกรอบหนึ่ง จากนั้นจึงประมวลผลออกมายังจอภาพ ปัจจุบันบริษัทต่างๆผู้ผลิต Mouse ชนิดนี้ได้เพิ่มให้มีความสวยงามต่างๆกันไป เช่น ใส่แสงให้กับ wheel หรือไม่ก็ออกแบบให้มีแสงสว่างทั้งตัว Mouse แต่หน้าที่การทำงานก็ไม่เปลี่ยนแปลงไปจาก Ball Mouse หลักการเดียวกัน



3.แบบไร้สาย      เป็น Mouse ที่มีการทำงานเหมือน Mouse ทั่วไปเพียงแต่ไม่มีการใช้สายไฟต่อออกมาจากตัว Mouse ซึ่ง Mouse ชนิดนี้จะมีตัวรับและตัวส่งสัญญาณซึ่งทางด้านตัวรับสัญญาณอาจจะเป็นหัวต่อ แบบ PS/2 หรือ แบบ USB ที่เรียกว่า Thumb USB receiver ซึ่งใช้ความถี่วิทยุอยู่ที่ 27MHz




กลไกการทำงานของเมาส์มี 3 ประเภท คือ Mechanical, Opto-Mechanical และ Optical

Mechanical 
เป็นกลไกการทำงานที่อาศัยลูกบอลยาง กลิ้งไปกลิ้งมาเมื่อเราเคลื่อนย้ายเมาส์  ลูกบอลยางนี้จะกดแนบอยู่กับลูกกลิ้ง โดยแกนของลูกกลิ้ง จะต่อเข้ากับจานแปลรหัส (Encoder) ซึ่งมีหน้าสัมผัสเป็นจุด ๆ เมื่อจุดสัมผัสเลื่อนมาตรงแกนสัมผัส ก็จะสร้างสัญญาณส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา  ซึ่งโปรแกรมควบคุมเมาส์ จะทำหน้าที่ แปลเป็นคำสั่งเคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์ บนจอภาพที่เราเลื่อนมส์ไป  เมาส์ที่ใช้กลไกการทำงานแบบนี้จะมีราคาค่อนข้างถูกกว่าแบบอื่นมีตัวอย่างข้างต้นที่ได้กล่าวมาแล้ว

Opto-Mechanical 
กลไกการทำงานคล้ายแบบ Mechanical แต่ว่าตัวรับการเคลื่อนที่ของจานแปลรหัส (Encoder) จะมีไฟ LED อยู่อีกด้านหนึ่งของจานไว้คอยกำเนิดแสง และอีกด้านหนึ่ง จะมี Opto-Transistor (ทรานซิสเตอร์ไวแสง) ไว้คอยตรวจจับแสง(ใช้หลักการ การหักเหของแสงที่ตกกระทบไปยังวัตถุ)แทนการใช้การสัมผัส

Optical 
เป็นกลไกการทำงานที่อาศัยแผ่นรองชนิดพิเศษ ซึ่งมีผิวมันสะท้อนแสงและมีตารางเส้นตามแกน X , Y โดยแกนหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน อีกแกนเป็นสีดำ ตัดกันไว้คอยตรวจจับการเคลื่อนที่  ซึ่งบนเมาส์จะมีไฟ LED 2 ดวงให้กำเนิดแสงออกมา 2 สี คือ สีดำและสีน้ำเงิน ไฟ LED ที่กำเนิดแสงสีดำจะดูดกลืนแสงสีน้ำเงิน ส่วนไฟ LED ที่กำเนิดแสงสีน้ำเงินจะดูดกลืนแสงสีดำ ซึ่งตัวตรวจจับแสงเป็นทรานซิสเตอร์ไวแสงสีที่ตรวจจับได้จะบอกทิศทาง ช่วงของแสงที่หายไปจะบอกถึงระยะทางการเคลื่อนที่


ลิ้งไว้สำหรับอ่านเพิ่มเติม


http://www.com5dow.com/basic-computer/6-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%8C-mouse-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Monitor จอภาพ


จอภาพ Monitor เป็นอุปกรณ์ใช้แสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็นได้ทันที มีรูปร่างคล้ายจอภาพของโทรทัศน์ บนจอภาพประกอบด้วยจุดจำนวนมาก เรียกจุดเหล่านั้นว่า พิกเซล (Pixel) ถ้ามีพิกเซลจำนวนมากก็จะทำให้ผู้ใช้มองเห็นภาพบนจอได้ชัดเจนมากขึ้น มีชื่อเรียกมากมาย เช่น Monitor, CRT (Cathode Ray Tube) แบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น แบ่งเป็นจอแบบตัวอักษร กับจอแบบกราฟิก โดยจอภาพแบบตัวอักษรจะมีหน่วยวัดเป็นจำนวนตัวอักษรต่อบรรทัด เช่น 80 ตัวอักษร 25 บรรทัด สำหรับจอภาพแบบกราฟิก จะมีหน่วยวัดเป็นจุดหรือพิกเซล (Pixel) ภายนอกของจอภาพก็คล้ายๆกับจอโทรทัศน์ สิ่งที่แสดงออกทางจอภาพมีทั้งข้อความ ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว โดยรับข้อมูลจากการ์ดจอ ซึ่งทำหน้าที่นำข้อมูลจากหน่วยประมวลผล มาแปลงเป็นสัญญาณภาพ แล้วส่งให้จอภาพแสดงผล


             การแสดงผลบนจอภาพเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ วิวัฒนาการของการแสดงผลได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้น มาตรฐานการแสดงผลที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์มีพื้นฐานมาจากการพัฒนาของบริษัทไอบีเอ็ม ช่วงยุคต้นการแสดงผลส่วนใหญ่ยังเป็นแบบตัวอักษรโดยมีการทำงานแยกจากการแสดงกราฟิก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์จำนวนมากสามารถแสดงผลในภาวะกราฟิก เช่น ระบบปฏิบัติงานวินโดวส์ ต้องใช้การแสดงผลในรูปกราฟิกทั้งสิ้น


      ปัจจุบันมีการพัฒนาจอภาพออกมาหลากหลายลักษณะ เน้นจำนวนสี ความละเอียด ความคมชัด ประหยัดพลังงาน สามารถแบ่งประเภทที่ใช้ในปัจจุบันได้เป็นกลุ่ม ดังนี้

จอภาพสีเดียว (Monochrome Monitor) 
             จอภาพที่รับสัญญาณจากการ์ดควบคุม ในลักษณะของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1 โดยการกวาดลำอิเล็กตรอนไปตกหน้าจอ แล้วเกิดเป็นจุดเรืองแสง จะให้สัญญาณว่าจุดไหนสว่าง จุดไหนดับ จอภาพสีเดียวปัจจุบันนี้ไม่นำมาใช้งานกันแล้ว

จอภาพหลายสี (Color Monitor) 
              จอภาพที่รับสัญญาณดิจิตอล 4 สัญญาณ คือ สัญญาณของสีแดง, เขียว, น้ำเงิน และสัญญาณความสว่าง ทำให้สามารถแสดงสีได้ 16 สี ถึง 16 ล้านสี

จอภาพแบบแบน (LCD; Liquid Crystal Display) 
              จอภาพผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาหรือคอมพิวเตอร์notebookเป็นจุดเด่นของจอภาพแบน ก็คือประหยัดพลังงาน ส่วนใหญ่ แบ่งเป็น

1.Active matrix จอภาพสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่าง และสีสันสดใส เรียกว่า TFT – Thin Film Transistor และคุณสมบัติดังกล่าวจึงทำให้ราคาของจอประเภทนี้สูง
2.Passive matrix color สีของจอภาพค่อนข้างแห้ง มีความสว่างน้อย สีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง เรียกว่า DSTN – Double Super Twisted Nematic

การเลือกซื้อจอภาพ

การเลือกซื้อจอภาพจะต้องพิจารณาความสัมพันธ์ของจอภาพกับตัวเชื่อมต่อซึ่งเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดแผงวงจรนี้จะเป็นตัวแสดงผลตามมาตรฐานที่ต้องการมีการแสดงผลหลายแบบการที่หัวต่อไม่เหมือนกันจึงทำให้ใช้จอภาพร่วมกันกับเมนบอร์ดที่เรามีอยู่ไม่ได้ นอกจากที่กล่าวมาแล้วคุณภาพของจอภาพก็จะต้องพิจารณาจอภาพมีรูปแบบไม่เหมือนกัน สัญญาณของแผงวงจรแบบVGAเป็นแบบแอนาล็อก สัญญาณของแผงวงจรแบบ MDA, CGA, HGA, EGA เป็นแบบดิจิทัล เราสามารถตรวจสอบได้ด้วยตาเปล่า คือ การแสดงผลที่ออกมาจะต้องเป็นจุดเล็กละเอียดคมชัด ไม่เป็นภาพพร่าหรือเสมือนปรับโฟกัสไม่ชัดเจน  ภาพที่ได้จะต้องมีลักษณะคงที่ สังเกตได้จากขนาดตัวหนังสือแถวบน กับแถวกลางหรือแถวล่างต้องมีขนาดเท่ากันและคมชัดเหมือนกัน ภาพที่ปรากฎขึ้นจะต้องไม่กระพริบถึงแม้จะปรับความเข้มของแสงเต็มที่ ภาพไม่สั่นไหวติงหรือพลิ้วไปมา การแสดงของสีต้องไม่เพี้ยนจากสีที่ควรจะเป็น

      พิจารณารายละเอียดอื่นของจอภาพ เช่น ขนาดของจอภาพวัดตามแนวเส้นทะแยงมุมของจอ หน่วยที่ใช้วัดขนาดหรือที่เรียกกันเป็นนิ้ว ทั่วไปจะมีขนาด 14 นิ้ว จอภาพที่แสดงผลงานกราฟิกบางแบบอาจต้องใช้ขนาดใหญ่ถึง 20 นิ้ว ความละเอียดของจุดซึ่งสามารถสังเกตได้จากสัญญาณแถบความถี่ของจอภาพ การใช้งานของบุคคลทั่วไป เช่น ไว้ดูหนัง เล่นเกม เขียนงานกราฟิก นอกเหนือจากนี้ที่ไม่พูดถึงนี้ต้องไปศึกษารายละเอียดปลีกย่อยแล้วเลือกเองอีกครั้ง

ลิงค์อ้างอิง ไว้สำหรับอ่านเพิ่มเติม
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/monitor.html


วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Mainboard:เมนบอร์ด

MAINBOARD



เมนบอร์ด (Mainboard) คือ อุปกรณ์ส่วนกลางที่สำคัญรองมาจากซีพียูเพราะทำหน้าที่เชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียกว่าแทบจะทั้งหมดตั้งแต่ ซีพียู ฮาร์ดดิส การ์ดจอ พาเวอร์ซับพลาย ฯลฯ  บนเมนบอร์ดเองมีช่องเสียบอุปกรณ์รวมทั้งชิปเซตที่ทำหน้าที่รับและส่งข้อมูล เมนบอร์ดที่นิยมใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นมาตรฐานการออกแบบ ATX ปรับปรุงจากระบบเก่าที่เป็นแบบ Body AT โดยแบบใหม่จะมีการปรับปรุงบริเวณ ซีพียู(CPU)โดยจะย้ายไปไกลพัดลมของแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply) ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น


นอกจากเมนบอร์ดมาตรฐาน ATX (Advance Technology Extension) ปัจจุบันยังมีเมนบอร์ดมาตรฐาน Mini-ITX เป็นเมนบอร์ดขนาดเล็กสำหรับคอมพิวเตอร์ทีมีขนาดเล็กเพื่อความบันเทิงหรือ HTPC และตัวเคสเองก็ออกแบบมาอย่างเหมาะสมเพื่อวาง LCD TV ตัวเมนบอร์ดจึงมีขนาดเล็กตามไปด้วย เมนบอร์ดลักษณะนี้จะรวมทุกอย่างไว้บนเมนบอร์ดและมีเพียง 1 สล็อตเท่านั้น เพื่อในการประหยัดพื้นที่ใช้สอย






ส่วนประกอบของเมนบอร์ดจะประกอบไปด้วย



  1. ซ็อกเก็ตซีพียู (CPU Socket) เป็นตำแหน่งสำหรับติดตั้งซีพียู รูปแบบซ็อกเก็ตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่น การเลือกซื้อเมนบอร์ดมาใช้งานนั้นจึงต้องตรวจสอบว่าเมนบอร์ดที่เราซื้อมาใช้นั้นจึงควรเลือกซีพียูและเมนบอร์ดที่มันซ็อกเก็ตซีพียูให้ตรงกันที่นิยมกันจะมี 4 แบบ คือ LGA 775 สำหรับ Core 2  Socket AM2+/AM3 สำหรับ AMD  LGA 1366 สำหรับ Core i7 และ LGA 1156 สำหรับ Core i3และ i5
  2. พอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อ จะปรากฏอยู่ด้านหลังของตัว(เคส)คอมพิวเตอร์ ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก อย่างเช่น คีบอร์ด เมาส์ ลำโพง เป็นต้น แต่ละพอร์ตจะมีลักษณะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอุปกรณีที่นำมาต่อ
  3. สล็อตของการ์ดจอ (Graphic Card Slot) ใช้สำหรับเสียบการ์ดจอเพื่อแสดงผลออกมอนิเตอร์
  4. สล็อต PCI (PCI Slot) เป็นสล็อตขนาดเล็กใช้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับสล็อตการ์ดจอ สล๊อต PCI  ทำหน้่าที่สำหรับติดตั้งการ์ดที่เป็นอุปกรณ์เสริมต่างๆใช้สำหรับเสียบการ์ดเสียง การ์ดเลน โมเด็มต่างๆ
  5. หัวต่อไดรว์ต่างๆ หรือตัวอ่านแผ่นดิสก์
  6. ชิปเซต (Chipset) หรือภาษานักคอมเรียกกันว่าชิปรอมไบออส BIOS ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานในส่วนต่างๆของเมนบอร์ด ทั้งส่วนของซีพียู ฮาร์ดดิส การ์ดจอ แรมและอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ
  7. ตัวต่อแบบ SATA ใช้เชื่อมต่อฮาร์ดดิสแบบSATA ประหยัดพลังงานแล้วพื้นที่ใช้สอย และยังระบายความร้อนได้ดี
  8. ตัวต่อแบบ IDE ใช้ต่อทั้งฮาร์ดดิสแบบเก่า ซีดีและดีวีดี
  9. ตัวเชื่อมต่อแหล่งจ่ายไฟ  จะมีรูปแบบแหล่งจ่ายไฟอยู่ทั้งหมด 2 แบบ คือ หัวแบบ ATX ซึ่งเป็นหัวต่อหลักที่เมนบอร์ดทุกรุ่นนั้นต้องมี เมนบอร์ดทุกรุ่นในปัจจุบันจำเป็นต้องใช้หัวต่อชนิดนี้เพิ่มขึ้นมาจากหัวต่อเดิม และแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply) ในปัจจุบันก็ทำหัวต่อชนิดนี้ไว้ให้อยู่แล้วเป็นแหล่งนำเข้าไฟไว้เลี้ยงทุกส่วนของคอมพิวเตอร์
  10. ซ็อกเก็ตแรม ซึ่งซ็อกเก็ตแต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันออกไปสังเกตได้จากรอยบาก ซึ่งเมนบอร์ดแต่ละตัวจะรองรับแรมที่ไม่เหมือนกันต้องสังเกตว่าเมนบอร์ดที่ซื้อนั้นใช่ซ็อกเก็ตแรมแบบไหน ปัจจุบันก็มีตั้งแต่รุ่นเก่า คือ SDRAM ไปจนถึง DDR , DDR2 และ DDR3
  11. ตัวคุมต่างๆ อย่างเช่น ปุ่มpower ปุ่มrestart ไฟบอกสถานะฮาร์ดดิส
  12. ตัวต่อUSB ใช้เฉพาะต่ออุปกรณ์ภายในเคสเท่านั้น




ลิ้งอ้างอิงสามารถอ่านเพิ่มเติมได้
http://itsentre.blogspot.com/2013/03/mainboard.html

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Video Card การ์ดจอ




การ์ดจอ หรือ การ์ดแสดงผล   (video card หรือ display card) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลภายในเกี่ยวกับการแสดงผลจากหน่วยความจำมาคำนวณและประมวลผล จากนั้นจึงส่งข้อมูลในรูปแบบสัญญาณดิจิตอลเพื่อนำไปแสดงผลยังหน้าจอคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบหลักสำคัญก็คือ ชิปประมวลผลกราฟิก(GPU)ปัจจุบันจะมีรูปแบบของหัวต่อหรือสล็อต 2 แบบ คือ AGP (Accelerator Graphic Port)และ PCI Express x16 ซึ่งAGPแบบเก่าไม่นิยมกันแล้วเพราะช้า ส่วนที่นิยมในตอนนี้คือ PCI ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุด การ์ดแสดงผลมีชื่อในภาษาอังกฤษหลายคำ อย่างเช่น video card, display card, graphics card , video card, , VGA Card เป็นต้น


ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสมัยใหม่ได้รวมความสามารถในการแสดงผลภาพสามมิติมาไว้เป็นมาตรฐาน และได้เรียกชื่อใหม่ว่า GPU (Graphic Processing Unit) โดยสามารถลดงานด้านการแสดงผลของของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ได้มาก ยังมีความต้องการการคำนวณทางด้านกราฟิกที่สูงมาก อย่างที่เห็นกันคือ เกมส์ที่เรากันอยู่ในปัจจุบันยิ่งเป็นเกมส์ออกมาใหม่ๆยิ่งต้องใช้กราฟิกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดภาพที่สมจริง บรรดาผู้ผลิตต่างก็พัฒนาเกมของตนให้มีภาพกราฟิกที่ละเอียดสมจริง การ์ดจอจึงต้องพัฒนาให้สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งกราฟิกที่สวยงาม ตระกาลตา ปัจจุบันนี้แทบจะเป็นระบบ HD (Hi definition) กันเกือบหมดแล้ว



ยังมีส่วนของการ์ดแสดงผลที่ไม่ได้อยู่ในรูปของการ์ด แต่จะอยู่เป็นส่วนหนึ่งของแผงเมนบอร์ดซึ่งทำหน้าที่เดียวกันทำให้เราไม่ต้องไปเสียเงินซื้อการ์ดกราฟิกมาเพิ่มเติมแต่ถึงอย่างนั้นวงจรแสดงผลเหล่านี้มักมีความสามารถด้านสามมิติค่อนข้างจำกัด เหมาะสมกับงานในสำนักงาน เล่นเว็บ อ่านอีเมล เป็นต้น สำหรับผู้ที่ต้องการความสามารถด้านสามมิติสูง ๆ เช่น ใช้เพื่อเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ยังอยู่ในรูปของการ์ดที่ต้องเสียบเพิ่มเพื่อให้ได้ภาพเคลื่อนไหวที่เป็นสามมิติที่สมจริง ในทางกลับกัน การใช้งานบางประเภท เช่น งานทางการแพทย์ กลับต้องการความสามารถการแสดงภาพสองมิติที่สูงแทนที่จะเป็นแบบสามมิติ

บริษัทผู้ผลิตการ์ดจอหรือการ์ดแสดงผล




แน่นอนว่าเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วว่ามีเพียงสอวบริษัทค่ายใหญ่ที่ผลิตการ์ดจอออกมาและเป็นที่นิยมกันคือ AMD หรือที่ใช้ชื่อว่า ATI Raedon เป็นคู่แข่งกับอีกบริษัทนึงนั่นก็คือ Nvidia


AMD มีจุดเด่นที่ระบบ Eyefinity ซึ่งสามารถต่อจอแสดงผลได้ 3-6 จอแบบเชื่อมต่อกันโดยใช้การ์ดใบเดียว และมีระบบ HD3D ซึ่งประมวลผลภาพ 3 มิติออกมาได้เช่นเดียวกับ Nvidia แต่ใช้ระบบที่ไม่ซับซ้อนเท่ากับของ Nvidia จึงมาผู้นิยมใช้น้อยกว่า แต่ก็ยังเป็นที่นิยมเพราะว่าด้วยราคาที่ถูกกว่าประสิทิภาพเมื่อเปรียบเทียบกัน


ในทางของบริษัท Nvidia จะมีจุดเด่นอยู่ที่ส่วนประมวลผล PhysX ซึ่งจะประมวลผลทางฟิสิกส์ เช่นการกลายเป็นไอของไอน้ำ คานเหวียง โมเมนตั้ม แรงเสียดทานของวัตถุ รวถึงมีระบบ Surround ซึ่งสามารถต่อจอแสดงผลได้ 3 จอแบบเชื่อมต่อกันแต่ต้องใช้การ์ดสองตัวขึ้นไปหรือการ์ดที่มี GPU คู่ ซึ่งประมวลผลภาพ 3 มิติออกมาได้เหมือนกับของAMD

คอมพิวเตอร์ของคุณจำเป็นต้องใช้การ์ดจอหรือไม่
                     การเลือกที่จะใช้การ์ดจอซักอันนี้จะอยู่ที่ประเภทการใช้งานของแต่ละบุคคลเองว่าคุณต้องการใช้งานด้านกราฟิกมากแค่เพียง อย่างถ้านำมาเล่นอินเทอร์เน็ต งานเอกสารภายในออฟฟิศ หรือเล่นเกมส์ที่ไม่ต้องการสเปคกราฟิกสูงมากนัก คอมพิวเตอร์ปัจจุบันมักจะมีส่วนของการแสดงผลอยู่บนเมนบอร์ด (Mainboard) หรือที่คนทั่วไปรู้จักคุ้นหูกันดีเรียกว่า ออนบอร์ดถ้าใช้เพียงแค่นี้ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อการ์ดจอมาเพิ่มให้เสียเงินเกินความจำเป็นของการใช้มากนัก แต่ถ้าหากต้องใช้งานด้านกราฟิกต่างๆสูงพอสมควร ดูภาพยนตร์ที่ต้องการความละเอียดสูงระดับ HD หรือเล่นเกมส์สามมิติ การใช้การ์ดจอแบบออนบอร์ดจะเป็นการเพิ่มภาระหนักให้กับกับคอมพิวเตอร์ของคุณเองมากไปจึงต้องมีการเสริมการ์ดจอแยกออกมา

 ลิ้งไว้อ่านเพิ่มเติมนะครับ

http://computerdodee.blogspot.com/2009/11/display-adapter.html

วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

HARDDISK

ฮาร์ดดิส (HARDDISK)

                 ฮาร์ดดิส : HARDDISK เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของคอมพิวเตอร์ เพราะว่ามีหน่วยประมวลผลแล้ว มีหน่วยแสดงผลแล้ว ก็ย่อมจะต้องมีส่วนที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลฮาร์ดดิสไม่เพียงไว้สำหรับเก็บข้อมูลทั่วๆไปอย่างเดียวแต่มันมีหน้าที่เก็บระบบปฏิบัติการ(os)และโปรแกรมต่างๆไว้ในนั้นด้วยอีกประการหนึงฮาร์ดดิสเป็นอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย
ระบบของฮาร์ดดิสจะมีจำนวนหน้าในการเก็บข้อมูลมากกว่า 2 หน้าฮาร์ดดิสส่วนใหญ่ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กมากกว่า 2แผ่นเรียงกันอยู่บนแกนหมุน(Spindle)ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อมๆกัน ฮาร์ดดิสใช้หัวอ่านเพียงหัวเดียวในการทำงาน ทั้งอ่านและเขียนข้อมูล ในการเขียนข้อมูลหัวอ่านจะได้รับกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าสู่คอยล์ของหัวอ่านรับข้อมูลเป็นการแปลงความหนาแน่นของสารแม่เหล็กที่เคลือบอยู่บน Disk ออกมาให้กับซีพียูเพื่อทำการประมวลผล การเก็บข้อมูลจะเก็บอยู่ในรูปแบบของสัญญาณดิจิตอล

การควบคุม Hard Disk
                 Hard Disk จะสามารถทำงานได้ต้องมีการควบคุมจาก CPU โดยจะมีการส่งสัญญาณการใช้งานไปยัง Controller Card แบ่งออกได้ 3 ชนิดที่ยังคงมีและใช้อยู่ในปัจจุบัน

1.IDE (Integrated Drive Electronics)

                 ระบบนี้มีความจุใกล้เคียงกับแบบ SCSI (Small Computer System Interface) แต่มีราคาและความเร็วในการขนย้ายถ่ายเทข้อมูลที่ต่ำกว่าตัวควบคุม IDE ปัจจุบันนิยมรวมอยู่ในแผงตัวควบคุม ซึ่งเมนบอร์ดรุ่งใหม่เน้นแบบ SATA มากกว่า


2.SCSI (Small Computer System Interface)

                   เป็นตัวเสียบมีมากกว่าหนึ่งช่องเพื่อรองรับอุปกรณ์เสริมอื่นที่มีในระบบ SCSI ได้ เช่น Modem CD-ROM Scanner และ Printer ในช่องเสียบหนึ่งๆจะสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว

                                    


3.Serial ATA (Advanced Technology Attachment)
                            
                   เป็นสถาปัตยกรรมล่าสุดเปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากที่มีการนำเสนอ Parallel ATA มากว่า 20 ปี รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆที่ทำให้การอ่านข้อมูลได้เร็วขึ้นSerial ATA ตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากรองรับในส่วนของเกมคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ซึ่งมีการใช้กราฟิกมากพอสมควร การเล่นภาพเสียงที่มีระบบHDรวมถึงการถ่ายเทข้อมูล ที่สังเกตุได้คือมีจำนวนpinที่น้อย


การบำรุงรักษา

                      การจัดเรียงข้อมูลใหม่(Defrag) ก็คือการจัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดดิสใหม่เพื่อให้ฮาร์ดดิสทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทุกครั้งที่มีการเขียนข้อมูล เช่นการติดตั้งโปรแกรม, การบันทึกข้อมูล ,การ Download ข้อมูล ,Copy ฯลฯ สิ่งที่คอมพิวเตอร์ทำก็คือการเขียนข้อมูลเหล่านั้นลงไปบนพื้นที่ว่างบน Hard Disk ทำให้เหลือพื้นที่น้อยลงทำให้ฮาร์ดดิสทำงานช้าลง เหมือนกับการเขียนข้อความลงบนกระดาษโดยไม่มีการจัดระเบียบมีที่ว่างตรงไหนเขียนลงไปตรงส่วนนั้น อีกอย่างหนึงคือไฟกระชากหรือเวลาที่ไฟดับกระทันหันจะทำให้การทำงานของฮาร์ดดิสสั้นลง

   ลิ้งค์อ้างอิง
   http://comerror.com/harddisk.html

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

RAM : random access memory


              RAM : random access memory เป็นหน่วยความจำหลักที่ใช้งานได้ก็ต่อเมื่อมีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงเท่านั้น ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ หน่วยความจำจะทำงานร่วมกันกับซีพียู (CPU)อยู่ตลอดเวลา แทบทุกจังหวะการทำงานของซีพียู (CPU) จะต้องมีการอ่าน/เขียนข้อมูลไปยังหน่วยความจำเสมอ หรือแม้แต่ในขณะที่เราสั่งย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งก็ต้องใช้หน่วยความเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล

            ประเภทของแรม

   โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ SRAM, DRAM โดยมีรายระเอียดดังนี้
  • Static RAM (SRAM) นิยมนำไปใช้เป็นหน่วยแคช (Cache) ภายในตัวซีพียู เพราะมีความเร็วในการทำงานสูงกว่า DRAM มาก แต่ไม่สามารถทำให้มีขนาดความจุสูงๆได้ เนื่องจากกินกระแสไฟมากจนทำให้เกิดความร้อนสูง
  • Dynamic RAM (DRAM) นิยม นำไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำหลักของระบบในรูปแบบของชิปไอซี (Integrated Circuit) บนแผงโมดุลของหน่วยความจำ RAM หลากหลายชนิด เช่น SDRAM,DDR SDRAM,DDR-II และ RDRAM เป็นต้น โดยออกแบบให้มีขนาดความจุสูงๆได้ กินไฟน้อย และไม่เกิดความร้อนสูง

      ชนิดของแรมที่ใช้กันในปัจจุบัน

1.SDRAM (Synchronous Dynamic Random - Access Memory)



SDRAM ใช้ความเร็วแบบ Synchronous จะขึ้นอยู่กับความเร็วของสัญญาณนาฬิกาของระบบทั้งหมด การถ่ายเทข้อมูลจะเกิดขึ้น 1 ครั้ง ต่อหนึ่งลูกคลื่นสัญญาณนาฬิกา โดยทำงานที่ความเร็วระดับเดียวกับ Bus มีความเร็วตั้งแต่ 66MHz ถึง 133MHz
ถึงแม้ว่า SDRAM จะทำงานในระดับความเร็วระดับเดียวกับ Bus แต่ SDRAM ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ใช้รู้สึกถึงความเร็ว เนื่องจากจุดด้อยของหน่วยความจำประเภทนี้อยู่ที่การทำงานตามความเร็วของค่า แคช จึงทำให้หน่วยความจำ SDRAM ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ต่อมาจึงได้มีการพัฒนา RAM แบบ DDR ขึ้นมาแทน

2. RDRAM (Rambus DRAM)


RDRAM (Rambus DRAM) มีหลักการทำงานคล้ายกับ DDR RAM แต่การทำงานจะทำงานเป็นคู่ทำให้จำนวน bit ที่รับส่งในแต่ละรอบสูงขึ้นเป็น 128 bit 
            ข้อด้อยของ RAM แบบนี้ ก็คือ เรื่องของราคาที่ค่อนข้างสูง รวมทั้งค่อนข้างที่จะสิ้นเปลืองแผ่นความร้อนมากทำให้ RAM ประเภทนี้ไม่ได้รับความนิยม และถูกแทนที่ด้วย DDR RAM แบบ Duel Channel ในที่สุด

3. DDR RAM (Double Data Rate Random-Access Memory)

DDR RAM เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อมาจาก SDRAM ในช่วงแรกบริษัทอินเทลไม่พัฒนา
ชิพเซต และไม่ให้การสนับสนุน ทำให้ผู้ผลิตรายอื่น เช่น AMD และบริษัทผู้ผลิตชิพเซตและสร้างเมนบอร์ดชั้นนำของโลกจากไต้หวัน ซึ่งได้แก่ VIA, SiS, ATi ได้รวมกันและพัฒนาเทคโนโลยีนี้จนได้รับความนิยมสูง
แรมประเภทนี้จะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสัญญาณขาขึ้นและขาลงของสัญญาณนาฬิกาแทนแบบเดิมที่ส่งข้อมูลผ่านสัญญาณขาขึ้นเท่านั้น เป็นผลทำให้อัตราส่งถ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ซึ่งเป็น ที่มาของชื่อ DDR (Double Data Rate)

4. DDR2


                DDR2 พัฒนาขึ้นมาจาก DDR โดยข้อมูลได้ส่งจากหน่วยความจำได้ 4 ทาง เป็นการส่งข้อมูลแบบ 16 bit ซึ่งจะใช้ในการเพิ่มขึ้นของอัตราข้อมูล ดังนั้นในการส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นมากกว่า DDR ถึงเท่าตัว จุดเด่นของแรมตัวนี้ คือ สามารถพัฒนาให้มีความเร็วในการทำงานและมีความจุได้สูงกว่า DDR สามารถระบายความร้อนได้ดีมาก รวมทั้งลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างตัวชิปได้ดี มีขนาดเล็กลง ใช้พลังงานน้อยและยังลดความร้อนลงได้อีกด้วย แรมตัวนี้จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน

5. DDR3


เป็นแรมที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการ ความเร็วในการรับส่งข้อมูล ที่ค่อนข้างสูงในการประมวลผลในปัจจุบัน รวมทั้งความต้องการในเรื่องของการประหยัดพลังงานปัจจุบันทำความเร็วได้มากสุดถึง 1600MHz และกำลังจะแทนที่ DDR2 เนื่องมาจากความเร็วที่สูงกว่าและประหยัดไฟมากกว่า แต่ราคาในปัจจุบันยังแพงกว่า DDR2 
 ลักษณะภายนอกของ DDR3 มีลักษณะเหมือนกับ DDR2 ค่อนข้างมาก จำนวนของขาก็เท่ากัน แต่ไม่สามารถใช้แทนกันได้ เนื่องจากการใช้ไฟเลี้ยงซึ่งน้อยกว่า ความจุในการรับข้อมูลมากกว่า ทำให้แรมตัวนี้มีความเร็วและรองรับความจุมากกว่า DDR2และยังมีความสามารถในการรีเซตตัวเองของชิปเมโมรีทุกครั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดการทำงานลง ไม่ว่าจะจากการปิดเครื่องหรือเครื่องเกิดค้าง ข้อดีคือทำให้ไม่มีข้อมูลหลงเหลืออยู่ภายในแรม ทำให้ลดอัตราความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับตัวชิปได้ดียิ่งขึ้น เมื่อเริ่มการทำงานใหม่อีกครั้งซึ่งจะสามารถทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยลดระยะเวลาชดเชยความล่าช้าได้


ลิ้งที่นำมาอ้างอิง